วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของ Router



Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Router ในการเชื่อมต่อ LAN หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน WAN ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น node หนึ่งใน LAN นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานอื่นๆได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย



การทำงานของ Routerสิ่ง ที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในกการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้ เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆ
หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบอินเตอร์เน็ต

ระบบอินเตอร์เน็ต
             เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

            เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องแม่ข่ายของสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. ใช้รหัสหมายเลข 203.146.150.80 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้เรียกขาน และเป็นที่เข้าใจง่ายขึ้น เช่น oho.ipst.ac.th
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในเดือนกันยายน 2536 จุดแรกที่เชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกประมาณหนึ่งปี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมโยงเครือข่ายไทยสาร (Thaisarn) ซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
            เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากมายเช่น
 
  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าการส่งทางไปรษณีย์ปกติ
  2. การสนทนาแบบเชื่อมตรง (chat) ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทาง จอภาพ และ แผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้
  3. การค้นหาข้อมูล (browser) คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลายๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่า เอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ใน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาตให้สำเนา เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บเผยแพร่ระหว่างกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งใหญ่มาก
  4. กระดานข่าว (web board) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการจัดตั้ง กระดานข่าว มีผู้ส่งข่าวสารถึงกันผ่าน กระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องรวมเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป (Thai gruop) กลุ่มผู้สนใจจักรยาน
  5. เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมบนเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกม (Multi User Dungeon : MUD) เกมผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาตอบโต้กันในระยะห่างไกล
อ้างอิงมาจาก http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g10/internet.html